โรคข้อเข่าเสื่อม
สาเหตุของเข่าเสื่อม
สาเหตุของเข่าเสื่อม เกิดจากกระดูกอ่อนที่ทำหน้าที่ปกป้องส่วนปลายกระดูกข้อต่อเสื่อมลง ซึ่งทำให้เกิดอาการที่ได้กล่าวในข้างต้นตามมา เข่าเสื่อมที่มาจากสาเหตุอื่นหรือไม่ทราบสาเหตุ มีดังต่อไปนี้
🔺อายุ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งความเสี่ยงในการเกิดเข่าเสื่อมจะมีมากขึ้นเมื่อมีอายุที่มากขึ้น แต่ก็สามารถเกิดกับผู้ที่อายุยังน้อยได้เช่นกัน โดยความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีอายุ 40 ปี ขึ้นไป
🔺การบาดเจ็บ ได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาหรืออุบัติเหตุ และแม้ว่าจะได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติแล้ว แต่ก็ยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดเข่าเสื่อมได้ในอนาคต
🔺เพศ เพศหญิงมีโอกาสเกิดเข่าเสื่อมได้มากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปี ขึ้นไป แต่ในกรณีนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
🔺โรคอ้วน ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินหรือเป็นโรคอ้วน อาจทำให้ข้อต่าง ๆ โดยเฉพาะข้อเข่าต้องรับน้ำหนัก 3-4 เท่าต่อน้ำหนักตัว ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงให้เข่าเสื่อมได้เมื่อเวลาผ่านไป
🔺กรรมพันธุ์ ผู้ป่วยข้ออักเสบบางรายจะพบว่ามีประวัติของคนในครอบครัวเป็นโรคเข่าเสื่อม
🔺เกิดจากโรคข้ออักเสบชนิดอื่น ๆ เข่าเสื่อมอาจมีสาเหตุจากโรคข้ออักเสบชนิดอื่น ๆ ซึ่งเป็น
🔺ภาวะที่เกิดการทำลายของข้อต่อ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เก๊าท์
นอกจากนั้น ผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องยกของหนักหรือแบกรับน้ำหนักมาก ๆ เป็นเวลาติดต่อกันยาวนาน ก็จะเพิ่มความ
เสี่ยงให้เกิดเข่าเสื่อมได้มากขึ้น
อาการของโรคข้อเข่าเสื่อมจะเริ่มมี
🔸อาการปวดบริเวณข้อเข่า
🔸ลุกขึ้นจากท่านั่งลำบาก
🔸ข้อขัด ฝืด ตึง มีเสียงดังกรอบแกรบเวลาขยับเข่า
🔸งอเข่าได้น้อยลง หรือเหยียดข้อเข่าได้ไม่สุด
🔸ในระยะแรกการปวดเข่ามักสัมพันธ์กับการลงน้ำหนัก การเดิน การขยับ ยกเว้นข้อเข่าเสื่อมจากโรคข้ออักเสบอาจมีอาการ
🔸ปวด บวม ร้อน ตลอดเวลาที่มีการอักเสบ
🔸ผู้ที่เป็นข้อเข่าเสื่อมอย่างรุนแรงในระยะท้าย
🔸อาการปวดเข่าอาจเกิดได้ตลอดเวลาหรือปวดตอนกลางคืนแม้ไม่ได้มีการใช้งาน
🔸ข้อเข่าจะมีการผิดรูปเกิดอาการขาโก่งหรือขาฉิ่งได้
ภาวะแทรกซ้อนของเข่าเสื่อม
ภาวะแทรกซ้อนของเข่าเสื่อมที่อาจเกิดขึ้น เช่น
🔸การตายของกระดูก (Osteonecrosis)
🔸เส้นเอ็นรอบ ๆ ข้อต่อแตกหรือเสื่อมสภาพ
🔸เลือดออกในข้อต่อ
🔸ติดเชื้อในข้อต่อ
นอกจากนั้น ภาวะแทรกซ้อนของเข่าเสื่อมมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เมื่อข้อเข่ามีอาการปวดหรือฝืดแข็งอย่างรุนแรงจนทำให้การใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน หรือกิจกรรมต่าง ๆ ไม่สะดวก โดยแพทย์อาจให้ทำการผ่าตัด
🔸การป้องกันเข่าเสื่อม
การป้องกันเข่าเสื่อมไม่ให้ทรุดลงหรือกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก สามารถทำได้ด้วยการดูแลรักษาสุขภาพ ทั้งการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย หรือการควบคุมน้ำหนัก หากปรับพฤติกรรมเหล่านี้ให้ไปในทางที่ดีขึ้นได้ นอกจากจะดีต่ออาการของข้อเสื่อมแล้ว ยังมีผลดีต่อสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยอีกด้วย
ผู้ป่วยเข่าเสื่อมที่กำลังรักษาด้วยการรับประทานยาตามแพทย์สั่ง แม้อาการจะดีขึ้นแล้ว ก็ควรที่จะรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยควรติดต่อ หรือขอคำปรึกษากับทีมแพทย์ผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะเข่าเสื่อมเป็นโรคที่เกิดขึ้นในระยะยาวและควรได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อผู้ป่วยพบว่าตนเองมีอาการหรือความกังวลใด ๆ เกิดขึ้น ก็ควรแจ้งให้ทีมแพทย์ผู้ดูแลทราบ เพื่อที่จะได้รับการช่วยเหลืออย่างตรงจุด
นอกจากนั้น ผู้ป่วยยังสามารถดูแลตัวเองได้ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น
🔸ประคบร้อน ประคบเย็น เพราะความร้อนและความเย็นจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้ โดยความร้อนจะช่วยบรรเทาข้อฝืด ส่วนความเย็นจะช่วยลดการหดเกร็งและความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ
🔸ใช้ที่รัดเข่า ผู้ป่วยสามารถสอบถามวิธีที่ถูกต้องในการใช้เทปรัดเข่าจากแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด จะทำให้ได้รู้ว่าควรพันที่ตำแหน่งใดจึงจะเหมาะกับอาการของตนที่สุด
🔸ใช้ครีมหรือเจลบรรเทาปวด ครีมหรือเจลบรรเทาปวดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป สามารถช่วยบรรเทาปวดจากเข่าเสื่อมได้ชั่วคราว
🔸อุปกรณ์ช่วยพยุงเดินหรืออุปกรณ์เสริมรองเท้า อุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยลดแรงกดและรองรับ 🔸น้ำหนักที่ข้อเข่า ซึ่งแพทย์อาจแนะนำอุปกรณ์เหล่านี้เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถยืนหรือเดินได้สะดวกยิ่งขึ้น
การควบคุมน้ำหนักตัว ควรอยู่ในเกณฑ์สมส่วน
ค่าดัชนีมวลกาย แปลผล
น้อยกว่า 18.5 ผอม
18.5 – 22.9 สมส่วน
23.0 – 24.9 น้ำหนักเกิน
25.0 – 29.9 อ้วน
มากกว่าหรือเท่ากับ 30 อ้วนรุนแรง
ตัวอย่างเกณฑ์น้ำหนักตัวเมื่อคำนวณตามดัชนีมวลกาย จำแนกตามความสูง
ส่วนสูง
(เมตร) น้ำหนักตัว (กิโลกรม)
น้ำหนักปกติ น้ำหนักเกิน อ้วน
1.50 41.6-51.5 51.6-56 มากกว่า 56
1.55 44.4-55.0 55.1-59.8 มากกว่า 59.8
1.60 47.3-58.6 58.7-63.7 มากกว่า 63.7
1.65 50.4-62.3 62.4-67.8 มากกว่า 67.8
1.70 53.5-66.2 66.3-72.0 มากกว่า 72
1.75 56.7-70.1 70.2-76.3 มากกว่า 76.3
• ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ควรลดน้ำหนักหรือควบคุมไม่ให้เพิ่มขึ้น น้ำหนักตัวที่มาก จะเพิ่มแรงกดหรือกระแทกบนข้อต่อในอิริยาบถที่เคลื่อนไหว กล่าวคือ ขณะยืน หรือเดินข้อเข่าจะต้องรับน้ำหนัก 2-3 เท่าของน้ำหนักของน้ำหนักตัวผู้นั้น
• การลดน้ำหนักไม่ใช่เรื่องงาย ต้องอาศัยกำลังใจวินัยในการควบคุมน้ำหนักตัวเอง ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการ และการออกกำลังกายที่ถูกต้อง หากลดน้ำหนักได้แม้เพียงเล็กน้อย ก็ช่วยลดอาการปวดข้อได้
• มีผู้ทำการศึกษาในผู้หญิงที่มีน้ำหน้กตัวเกินซึ่งมีอาการปวดเข่า เมื่อลดน้ำหนักลง 5 กิโลกรัม ทำให้ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเสื่อมได้ถึงร้อยละ 50
หากมีอาการแบบนี้
แนะนำใช้สารอาหารจากสมุนไพร
สกัดแข้มข้นในการ ฟื้นฟู บำบัด
เพื่อให้สารอาหารสำคัญ ออกฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบ
ฟื้นฟูระบบภายในร่างกาย กลับมาใช้งานได้อีก
โดยไม่ต้องทนปวดทรมาน
ปรับสมุลทั้งระบบในร่างกายให้กลับมาทำงานเหมือนเดิม
จึงเป็นการฟื้นฟู ที่เห็นผล ที่ดี และยั่งยืน กว่าวิธีอื่นๆๆ
ติดต่อ สอบถาม เพิ่มเติม
- เป็นสมุนไพรสกัด 100%
- ไม่มีผลข้างเคียงใดๆๆ
- ไม่มีสารตกค้าง
- ไม่มีสเตรอย
...............................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น